10 เช็คลิสต์ตรวจบ้าน แบบละเอียด เพื่อความมั่นใจก่อนรับโอนบ้าน

10 เช็คลิสต์ตรวจบ้าน แบบละเอียด เพื่อความมั่นใจก่อนรับโอนบ้าน

แนะนำเช็คลิสต์รายการตรวจบ้าน และบริษัทรับตรวจบ้าน

เมื่อวางแผนที่จะซื้อบ้านสักหลังหนึ่ง แน่นอนว่าต้องมีการวางแผน เตรียมตัว เตรียมพร้อมรายละเอียดหลายๆ อย่างแบบละเอียดถี่ถ้วน ไม่ว่าจะเป็นการมองหาทำเล ราคาบ้านที่ตอบโจทย์ ไปจนถึงรูปแบบและสภาพแวดล้อมของบ้านที่ตอบสนองไลฟ์สไตล์ เมื่อตัดสินใจเลือกบ้านไปแล้ว หนึ่งเรื่องสำคัญที่ต้องใส่ใจ คือ “การตรวจบ้าน” ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญมากๆ เลยทีเดียว เพื่อตรวจสอบความเรียบร้อยก่อนรับโอน

ทั้งนี้ หลายคนอาจยังไม่ทราบว่าเช็คลิสต์ตรวจบ้านมีอะไรบ้าง ควรตรวจสอบจุดไหนบ้าง ดังนั้นในบทความนี้ Mr.Home Insepector จะมาบอกเช็คลิสต์ตรวจรับบ้าน พร้อมแนะนำตรวจบ้าน ตรวจคอนโดที่สามารถช่วยแบ่งเบาภาระในส่วนนี้ได้

ทำไมถึงควรตรวจบ้านก่อนการรับโอน?

การตรวจเช็คบ้านถือเป็นขั้นตอนท้ายๆ ก่อนรับโอนกรรมสิทธิ์บ้านจากทางโครงการผู้พัฒนา เนื่องจากบ้านที่เพิ่งสร้างเสร็จ มักมี Defect หรือความเสียหาย ซึ่งอาจเกิดจากการปล่อยบ้านไว้หลังสร้างเสร็จหรือจุดบกพร่องเล็กๆ ที่ผู้รับเหมามองข้ามไป ก่อนที่จะแจ้งทางโครงการให้เข้ามาซ่อมแซมดูแลหรือ “เก็บงาน” เพราะหลังจากเราเซ็นรับมอบบ้านแล้ว จะถือว่าความเสียหายที่เกิดกับตัวบ้านอยู่นอกเหนือความรับผิดชอบของโครงการนั่นเอง

โดยก่อนที่จะเริ่มตรวจเช็คบ้าน เราควรทำการศึกษาแผนผังบ้านและระบบต่างๆ ภายในบ้านให้ดี ก่อนทำเช็คลิสต์ตรวจบ้าน อีกทั้งควรเตรียมพร้อมอุปกรณ์ที่ต้องมีในการตรวจรับบ้านให้ครบ เช่น เครื่องเขียนและสมุดโน๊ต สายวัด ไขควง บันไดปีน ไฟฉาย ปลั๊กพ่วง และมือถือ เป็นต้น เพื่อใช้ในการเช็คตามรายการตรวจบ้าน

เช็คลิสต์ตรวจบ้านที่ควรรู้ มีอะไรบ้าง

10 เช็คลิสต์ และรายการตรวจบ้านแบบละเอียด มีอะไรบ้าง

1. เปรียบเทียบตัวบ้านกับแบบแปลนก่อสร้าง

อันดับแรกสุดในการตรวจรับบ้าน ว่าที่เจ้าของบ้านทุกคนควรตรวจสอบแบบแปลนก่อสร้างเสมอ เพื่อดูรายละเอียดและองค์ประกอบต่างๆ ในตัวบ้านว่ามีอะไรบ้าง เช่น พื้นที่ใช้สอย ระบบไฟฟ้า และระบบสุขาภิบาล จึงแน่ใจได้ว่าตัวบ้านมีลักษณะตรงกับแบบแปลนก่อสร้างในทุกๆ จุด

2. ตรวจเช็คพื้นที่หน้าบ้าน

อันดับต่อมาในเช็คลิสต์ตรวจบ้าน คือ พื้นที่หน้าบ้าน ที่เป็นพื้นที่สัญจรเข้า-ออกหลัก และเป็นส่วนที่เราเห็นเป็นประจำ โดยส่วนที่สำคัญ ได้แก่

  • พื้นหน้าบ้าน – ต้องเรียบเสมอกัน ปราศจากร่องรอยความเสียหายหรือเป็นหลุมเป็นบ่อ
  • รั้วบ้าน – ตรวจเช็คความแข็งแรง ไม่เอนเอียงหรือมีส่วนที่เสียหายอย่างรอยร้าวหรือรอยแตก
  • ระเบียงหน้าบ้าน – ต้องมีความแข็งแรง วัสดุปูพื้นไม่ควรลื่น เพราะเป็นบริเวณที่ฝนตกลงมา
  • สวนหน้าบ้าน – ตรวจสอบหน้าดินว่าเสมอกัน มีการถมดินให้เต็มพื้นที่ ไม่มีเศษวัสดุหรือสิ่งสกปรกเหลืออยู่

3. ผนังและกำแพงบ้าน

ควรตรวจสอบว่าผนังมีการฉาบปูนได้เรียบร้อยหรือไม่ สีผนังไปในทิศทางเดียวกัน ไม่มีรอยแหว่งในการทาสี ไม่มีรู รอยแตก หรือรอยร้าวบนผนัง ส่วนผนังที่มีการปูกระเบื้อง จะต้องทำการตรวจเช็คว่าการปูกระเบื้องเรียบร้อยหรือไม่ กระเบื้องเรียบสนิทต่อกันในแต่ละแผ่น

4. พื้นบ้าน

พื้นบ้านเป็นอีกส่วนสำคัญที่ต้องรองรับการใช้พื้นที่ในทุกๆ วัน ดังนั้นในการตรวจเช็คบ้านให้สังเกตจากวัสดุปูพื้นว่ามีความเรียบเนียนเสมอกัน ไม่มีร่องหรือโพรงใดๆ สำหรับบ้านจัดสรรส่วนใหญ่ที่ปูพื้นบ้านชั้น 1 ด้วยกระเบื้อง สามารถทดสอบได้ด้วยการเคาะเพื่อฟังเสียง ถ้ากระเบื้องแผ่นใดส่งเสียงแตกต่างจากกระเบื้องแผ่นอื่นๆ หรือ เคาะแล้วกระเบื้องสั่น นั้นหมายความว่าปูนกาวของกระเบื้องแผ่นนั้นๆ ไม่แน่นพอ ต้องแจ้งซ่อมแซม ส่วนพื้นไม้ที่มักใช้ปูชั้น 2 ขึ้นไป ต้องเรียบเท่ากัน ไม่โก่งขึ้นหรือมีอาการไม้บวม

5. ฝ้าเพดาน

ฝ้าเพดานของบ้านทั้งหมดต้องเรียบเนียน มีการฉาบที่เรียบสนิท ระดับของฝ้าจะต้องมีความสูงเสมอกัน ไม่มีร่องหรือจุดที่มีปัญหาน้ำรั่วซึมออกมา และไม่เลอะคราบปูน หากพบคราบน้ำหรือมีการรั่วซึม ควรรีบแจ้งให้ทางโครงการทราบเพื่อเข้าแก้ไข และไม่เป็นปัญหาหลังโอนรับบ้านไปแล้ว

6. หลังคาและใต้หลังคาบ้าน

การปีนขึ้นไปบนหลังคาเพื่อตรวจสอบกระเบื้องแต่ละแผ่นนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายและอาจมีความเสี่ยงสูง ต้องอาศัยความชำนาญในการปีน แต่เราสามารถตรวจสอบด้วยตัวเองอย่างปลอดภัยได้ด้วยการเปิดช่องเซอร์วิสแล้วมองฝ้าเพดานที่อยู่ด้านในหลังคา ว่าติดตั้งสมบูรณ์ ไม่มีรอยแหว่ง และเรียบเสมอกันทุกแผ่น สำหรับบ้านจัดสรรที่อยู่ติดกับบ้านหลังอื่น ควรตรวจสอบด้วยว่าทางโครงการมีการก่อกำแพงเพื่อกั้นพื้นที่ใต้หลังคาด้วยหรือไม่

7. ประตู หน้าต่าง และช่องเปิดต่างๆ

ควรเช็คประตูและหน้าต่างทั้งหมดของตัวบ้านว่าสามารถใช้งานเปิด-ปิดได้ตามปกติ บานประตูขูดกับพื้นหรือไม่ เป็นวัสดุที่สามารถทนต่อสภาพอากาศได้ ที่สำคัญคือต้องปิดสนิท ไม่มีลมลอดเข้ามาภายในบ้าน นอกจากนี้ ควรตรวจสอบวงกบของประตูว่ามีสปริงหรือส่วนใดที่ยื่นออกมาผิดปกติหรือไม่

8. บันไดขึ้นลงบ้าน

บันไดเป็นอีกหนึ่งส่วนสำคัญที่หลายคนมักมองข้ามไป ในการตรวจสอบบันไดควรสังเกตให้ดีว่า บันไดแต่ละขั้นจะต้องสูงเท่ากัน วัสดุที่นำมาวางติดตั้งจะต้องเรียบสนิทกับพื้นของบันได ป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายจากการใช้งาน ไม่ส่งเสียงแปลกๆ ขณะเดินขึ้นลง และอีกส่วนหนึ่งที่ต้องตรวจสอบคือ ราวบันได ว่าอยู่ในตำแหน่งที่จับถนัดมือ ติดตั้งแน่นหนา ไม่โยกเยกไปมา

9. ระบบไฟฟ้าภายในและภายนอกบ้าน

การตรวจระบบไฟฟ้าในบ้านเป็นส่วนสำคัญอย่างมากที่ต้องตรวจสอบให้แน่ใจ เพราะการติดตั้งที่ผิดพลาดอาจส่งผลต่อการใช้งานและความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัย ควรเริ่มจากการตรวจสอบสวิตช์และเต้ารับทุกจุดภายในบ้านสามารถใช้งานได้จริง จากนั้นให้ตรวจสอบดวงไฟทุกจุดภายในบ้านว่าสามารถเปิดได้และไม่มีอาการไฟกะพริบใดๆ สุดท้ายให้ตรวจสอบการทำงานของเบรกเกอร์ว่าสามารถหยุดการส่งไฟได้ครบถ้วน

ในส่วนของงานระบบไฟที่ต้องตรวจเช็คจากการติดตั้ง ต้องทดสอบการเดินไฟที่เดินสายไฟเอาไว้ใต้ผนัง แต่การทดสอบนี้มีความเสี่ยงสูงและไม่แนะนำให้ทำเองหากว่าไม่มีความเชี่ยวชาญ

การตรวจระบบไฟฟ้าภายในและภายนอกบ้าน

10. ระบบน้ำและสุขาภิบาล

การตรวจสอบระบบน้ำนั้นมีจุดประสงค์หลักคือ เพื่อดูการทำงานของงานระบบประปาว่าทำงานเป็นปกติ โดยทดลองเปิดน้ำจากทุกก๊อก ทุกห้องน้ำ ทุกชั้น ในทุกบริเวณของบ้าน เพื่อทดสอบว่าน้ำไหลได้แรงพอ และไหลในปริมาณที่เพียงพอต่อการใช้งาน ทดลองกดชักโครกว่าสามารถดูดน้ำได้เป็นปกติและไหลลงสู่ท่อน้ำเสียอย่างถูกต้อง

ต่อมา ให้ตรวจสอบระบบท่อว่ามีรอยแตกร้าว รั่วซึม และมีการต่อท่อไปบ่อพักหรือไม่ และอย่าลืมที่จะสังเกตกลิ่นไม่พึงประสงค์เมื่อราดน้ำลงท่อ สุดท้ายให้ ตรวจสอบมิเตอร์น้ำว่าเข็มมิเตอร์ทำงานเป็นปกติ ไม่มีอาการเข็มวิ่งขณะที่ไม่ได้ใช้งาน

ทั้ง 10 ข้อนี้ก็เป็นเช็คลิสต์รายการรับตรวจบ้านที่เจ้าของบ้านมือใหม่สามารถนำไปใช้ในการตรวจเช็คสภาพบ้านได้ แต่ก่อนเริ่มตรวจเช็คบ้านควรเตรียมอุปกรณ์ ศึกษารายละเอียดบ้าน และข้อมูลสำคัญต่างๆ ให้ครบถ้วน เพื่อไม่ให้พลาดจุดใดจุดหนึ่งไป และที่สำคัญคือต้องไม่ลืมที่จะถ่ายรูปเก็บเอาไว้เป็นหลักฐานสำหรับแจ้งทางโครงการให้เข้ามาซ่อมแซมจุด Defect ต่างๆ ที่พบเจอ

ตรวจบ้านด้วยตัวเอง กับ จ้างบริษัทรับตรวจบ้าน เลือกแบบไหนดี ?

จากที่กล่าวมาทั้งหมด การทำเช็คลิสต์ตรวจบ้านหรือรายการตรวจบ้าน จะทำให้เราสามารถตรวจรับบ้านด้วยตัวเองได้ แต่ก็ได้ถือว่าเป็นงานที่มีรายละเอียดมากและต้องอาศัยประสบการณ์ จึงมีโอกาสไม่น้อยเลยที่เจ้าของบ้านมือใหม่จะพลาดจุดสำคัญไป ดังนั้นปัจจุบันการเลือกใช้ตรวจบ้านอาจเป็นทางออกที่ตอบโจทย์หลายๆ คนมากกว่า

ซึ่งบริษัทรับตรวจบ้าน ตรวจคอนโด คือ ผู้เชี่ยวชาญในงานก่อสร้างอาคารและความรู้ด้านวิศวกรรมอาคาร ที่พร้อมให้บริการตรวจเช็คบ้านด้วยอุปกรณ์และเครื่องมือเฉพาะทาง สามารถตรวจสอบบ้านได้ทุกจุด พร้อมมีการจัดทำรายงานจุด Defect ต่างๆ ให้เจ้าของบ้านได้ตรวจสอบช่วยให้ประสานงานกับโครงการได้ง่ายขึ้น ลดภาระในการตรวจสอบบ้านเอง และคลายความกังวลได้ ซึ่งนับเป็นหนึ่งบริการสำคัญที่แนะนำให้เจ้าของบ้านมือใหม่ทุกท่านพิจารณา

Mr.Home Inspector บริษัทรับตรวจบ้าน ที่ได้มาตรฐาน ด้วยวิศวกรมืออาชีพ

Mr.Home Inspector บริษัทรับตรวจบ้าน และตรวจคอนโดอย่างละเอียดทุกจุด โดยวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ มีประสบการณ์การทำงานก่อสร้างอาคารกว่า 5 ปี พร้อมรายงานการตรวจบ้านที่อ่านเข้าใจง่าย มั่นใจในคุณภาพ รับมอบบ้านและคอนโดที่ครบถ้วนสมบูรณ์ แบบสบายใจหายห่วง

  • ประสบการณ์ตรวจกว่า 10,000 ยูนิต – เราให้บริการตรวจรับบ้านทั่วประเทศไทยมากกว่า 15 ปี
  • วิศวกรมืออาชีพ – บริการตรวจเช็คบ้านและคอนโด โดยวิศวกรที่มีใบอนุญาตและมีประสบการณ์สูง
  • เครื่องมือตรวจสอบทันสมัย – ใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทันสมัยในการตรวจสอบทุกจุด
  • Mr.Home Inspector บริการตรวจบ้าน ราคาจะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งประเภทที่อยู่อาศัยที่จะตรวจว่าเป็นบ้านหรือคอนโด ขนาดพื้นที่ รวมถึงรายละเอียดเพิ่มเติมอื่นๆ ตามความต้องการของลูกค้าแต่ละราย ดังนั้นจึงควรปรึกษากับบริษัทรับตรวจบ้านก่อน เพื่อพูดคุยรายละเอียดและประเมินราคาตรวจบ้านได้อย่างแม่นยำ

สอบถามราคาหรือข้อมูลเพิ่มเติม

โทร.: 086-507-8885

LINE OA: @mr.homeinspector

อีเมล: Mr.Homeinspector99@gmail.com

Share this post

Start typing and press Enter to search

Shopping Cart