รู้สาเหตุน้ำรั่วซึมเพดาน พร้อมแนะนำวิธีซ่อมและป้องกันน้ำรั่วเพดานแบบมืออาชีพ
ฝ้าเพดานเป็นองค์ประกอบสำคัญในการตกแต่งบ้านให้สวยงามและมีสไตล์ตามที่เราต้องการ ซึ่งนอกจากจะช่วยเพิ่มความสวยงามแล้ว ฝ้าเพดานยังมีประโยชน์ในการลดเสียงรบกวนและซ่อนงานระบบต่างๆ เช่น สายไฟฟ้าและท่อน้ำประปาให้เป็นระเบียบได้อีกด้วย อย่างไรก็ตามการติดตั้งฝ้าเพดานที่เรียบสนิทอาจทำให้เรามองไม่เห็นปัญหาที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะปัญหาฝ้าเพดานรั่วซึมซึ่งมักพบได้บ่อยในช่วงหน้าฝน
ดังนั้น เพื่อให้สามารถตรวจหาสาเหตุของการเกิดน้ำรั่วได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ ในบทความนี้ Mr.Home Inspector จะมาอธิบายถึงสาเหตุของการเกิดน้ำรั่วซึมเพดานว่าเกิดได้จากสาเหตุใดบ้าง พร้อมแนะนำขั้นตอนการซ่อมฝ้าเพดานรั่วและวิธีการป้องกันน้ำรั่วเพดานแบบมืออาชีพ
สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดน้ำรั่วซึมเพดาน
สาเหตุของการเกิดน้ำรั่วซึมเพดานจนเกิดฝ้ารั่วมักเกิดจาก
1. พื้นดาดฟ้าหรือกระเบื้องมุมหลังคามีรูรั่วหรือรอยแตกร้าว
ทำให้น้ำฝนไหลซึมตามรอยร้าวลงมาถึงฝ้าเพดานจนเปียกหรือเกิดความชื้นสะสมจากน้ำที่ตกกระทบลงฝ้าเพดานทำให้ซึมจนเป็นรอยด่าง เกิดคราบสกปรก และทะลุเป็นรูรั่วได้ในที่สุด
2. ผนังบ้านภายนอกมีรอยแตกร้าว
ฝนที่สาดเข้ามาทางผนังบ้านทำให้น้ำไหลซึมตามรอยร้าวผนังแล้วไหลซึมต่อไปที่ฝ้าเพดาน
3. น้ำรั่วซึมจากห้องน้ำที่อยู่ชั้นบน
ท่อประปา ท่อน้ำทิ้ง โถสุขภัณฑ์ และกระเบื้องปูพื้นห้องน้ำชั้นบน อาจมีปัญหาน้ำรั่วน้ำซึมไหลลงมาที่ฝ้าเพดานของชั้นล่าง
4. ฝ้าเพดานไม่กันความชื้น
ฝ้าเพดานในห้องน้ำที่ไม่มีสารเคลือบกันความชื้น เมื่อถูกไอน้ำหรือความชื้นจากการอาบน้ำด้วยน้ำร้อนหรือการล้างทำความสะอาดห้องน้ำเป็นประจำ สะสมนานวันเข้าจะทำให้ไอน้ำซึมเข้าฝ้าเพดานได้
วิธีซ่อมฝ้าเพดานน้ำรั่ว
อย่างที่กล่าวไปข้างต้น น้ำรั่วซึมเพดานสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุและเกิดได้หลายบริเวณของบ้าน ดังนั้นวิธีซ่อมฝ้าเพดานน้ำรั่วจึงควรเริ่มจากการหาต้นเหตุของการรั่วซึมว่ามาจากบริเวณใด จากนั้นจึงจัดการปิดรอยรั่วให้สนิทและซ่อมแซมฝ้าเพดานตามลำดับ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. ตรวจหาจุดที่เกิดเหตุน้ำรั่วน้ำซึม
บริเวณที่เกิดคราบสีน้ำตาล
น้ำรั่วซึมอาจไม่ได้ตกลงมาทางแนวดิ่งอย่างเดียว แต่อาจไหลเอียงตามแนวท่อน้ำ โครงคร่าวเหนือฝ้าเพดาน หรือซึมจากข้างกำแพงก็ได้ จึงต้องสังเกตอย่างรอบคอบ
แสงแดดที่ลอดเข้ามาทางเพดานปูน กระเบื้องหลังคา หรือฝ้าเพดาน
ถ้าสามารถมองเห็นแสงแดดทะลุผ่านกระเบื้องหลังคา รอยร้าวของพื้นเพดานชั้นบน หรือฝ้าเพดานโดยเฉพาะฝ้าเพดานแบบทีบาร์ แสดงว่ามีโอกาสเกิดปัญหาน้ำรั่วน้ำซึมได้ที่จุดนั้น
ตรวจสภาพกระเบื้องหลังคาและพื้นเพดานดาดฟ้า
กระเบื้องหลังคาหรือพื้นเพดานดาดฟ้าอาจมีรอยร้าว ตะปูและแป้นยางยืดกระเบื้องอาจเสื่อมสภาพ สีทาผนังอาจหลุดล่อน ในบางกรณีอาจใช้ผ้าแห้งหรือทิชชูพันตามบริเวณที่สงสัยว่ามีการรั่วซึม เช่น ข้อต่อของน้ำที่สีหลุดล่อน โครงคร่าวฝ้าเพดาน เพื่อสังเกตดูว่ามีความชื้นหรือน้ำรั่วน้ำซึมจนทำให้ฝ้ารั่วได้หรือไม่
2. อุดรอยรั่วซึมของน้ำ
ปิดรอยรั่วซึมให้เรียบร้อยก่อนเริ่มซ่อมเพดานเพื่อไม่ให้น้ำไหลซึมได้อีก ตัวอย่างวิธีปิดรอยรั่วของน้ำแต่ละจุด เช่น
- การรั่วซึมจากกระเบื้องห้องน้ำชั้นบน ควรสกัดกระเบื้องเดิมออกแล้วปูกระเบื้องใหม่แล้วใช้น้ำยากันซึมปูนฉาบและยาแนวด้วยวัสดุกันซึม
- การรั่วซึมจากผนังหรือพื้นแตกร้าว ควรขูดลอกสีเก่าออก ขัดให้เรียบ อุดรอยแตกร้าวด้วยวัสดุกันซึม ทาน้ำยากันซึม แล้วทาทับด้วยสีรองพื้นและสีทาผนังที่มีคุณสมบัติกันความชื้น
- การรั่วซึมจากหลังคามีรูหรือรอยแตกร้าว ควรเปลี่ยนหลังคาใหม่ทั้งแผ่นหรืออุดด้วยวัสดุกันซึมที่ทนแดดและฝน หรืออาจใช้ตาข่ายเสริมการยึดเกาะก่อนทาทับด้วยวัสดุยาแนวกันซึม
3. ตัดแผ่นฝ้าบริเวณที่มีปัญหาแล้วปิดด้วยแผ่นใหม่
ตัดแผ่นฝ้าเพดานบริเวณที่มีรอยรั่วซึมออก โดยใช้ใบเลื่อยตัดให้เป็นทรงสี่เหลี่ยมให้มีขนาดใหญ่กว่าบริเวณที่มีปัญหา จากนั้นตัดแผ่นฝ้าแผ่นใหม่ให้มีขนาดเท่ากับช่องสี่เหลี่ยมที่ถูกตัดออกมาปิดช่องไว้ แล้วยึดเข้ากับโครงเก่าหรือใช้ไม้พาดไว้เป็นโครงยึด เจาะยึดให้แน่นด้วยสกรูแล้วใช้ปูนยิปซัมและเทปผ้าปิดให้เรียบสนิท
4. ขัดด้วยกระดาษทรายให้เรียบ
ใช้กระดาษทรายสำหรับขัดสีโป๊วขัดบริเวณที่ซ่อมแซมให้เรียบเสมอกับฝ้าเพดาน เพื่อไม่ให้บริเวณพื้นผิวที่ซ่อมแซมนูนออกมาเมื่อทาสีใหม่ทับลงไป
5. ทาสีทับจุดที่ซ่อมแซมให้สวยงาม
ทาสีทับจุดที่ซ่อมแซมเป็นการเก็บงานให้สวยงาม ถ้าหากไม่ได้ทาสีเดิมหรือทาแล้วเฉดสีต่างกับของเก่า ก็อาจทาใหม่ทั้งหมดทั้งแผ่นเพื่อความสวยงามและกลมกลืน
วิธีป้องกันน้ำรั่วเพดาน
1. เลือกใช้แผ่นฝ้าเพดานที่มีคุณภาพ
ฝ้าเพดานที่นิยมใช้กันมากที่สุดคือ แผ่นฝ้ายิปซัม เนื่องจากเป็นวัสดุที่มีความทนทาน น้ำหนักเบา ตัดและติดตั้งง่าย และมีหลายแบรนด์ให้เลือกในท้องตลาด และสิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ การเลือกใช้แผ่นฝ้าที่มีคุณสมบัติกันชื้น ทนความร้อน กันเชื้อรา ไม่แอ่นตัวง่าย และเก็บเสียงได้ดี แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับงบประมาณและพื้นที่หรือบริเวณที่จะติดตั้งด้วย
2. ตรวจดูการทำงานของมิเตอร์น้ำ
หากพบว่าเมื่อปิดก๊อกน้ำทั้งบ้านหมดแล้ว มิเตอร์ยังคงทำงานอยู่ แสดงว่าอาจมีน้ำรั่วน้ำซึมจากท่อน้ำประปาเกิดขึ้น ควรรีบทำการแก้ไข
3. หมั่นสังเกตรอยแตกร้าว สีหลุดล่อน
หากพบปัญหาตามพื้นดาดฟ้า กระเบื้องหลังคา ผนังนอกบ้าน ควรรีบทำการแก้ไข
สิ่งสำคัญในการป้องกันน้ำรั่วน้ำซึมฝ้าเพดานก็คือ การหาสาเหตุและแก้ไขปัญหาน้ำรั่วซึมเพดานได้ตรงจุด พร้อมกับใช้วัสดุและอุปกรณ์ที่มีคุณภาพ เพียงเท่านี้ก็สามารถช่วยยืดอายุการใช้งานของฝ้าเพดานให้นานมากยิ่งขึ้น
Mr.Home Inspector บริการตรวจบ้านอย่างละเอียด โดยวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ
Mr.Home Inspector บริษัทที่ให้บริการตรวจบ้าน ตรวจคอนโด และที่อยู่อาศัยทุกรูปแบบ มีเช็คลิสต์ตรวจบ้านอย่างละเอียดทุกจุด โดยวิศวกรที่มีประสบการณ์การทำงานก่อสร้างอาคารมากกว่า 15 ปี ใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ ตรวจสอบที่ทันสมัย รายงานอ่านเข้าใจง่าย พร้อมให้คำปรึกษาและคำแนะนำเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาต่างๆ
สอบถามราคาหรือข้อมูลเพิ่มเติม
โทร.: 086-507-8885
LINE OA: @mr.homeinspector